จำไว้นะ | Cloud แต่ละที่ไม่เหมือนกัน
หลาย ๆ คนน่าจะเคยมีประสบการณ์การใช้งาน Domestic Cloud กันมาบ้างแล้ว ความจริงคือ
Domestic Cloud ก็มีความแตกต่างกัน โดยจะแยกประเภทให้เทียบกัน 2 แบบ ก็คือ Enterprise Cloud และ Cloud VPS ทั้ง 2 แบบ เป็น Cloud Server เหมือนกัน แต่มีความต่างกันดังนี้ครับ
- Enterprise Cloud จะมี Physical Server จำนวนมากที่ทำงานร่วมกัน ช่วยให้ Physical Server ไม่ทำงานหนักเกินไป และด้วยการที่มีหลาย Physical Server ทำให้สามารถทำงานทดแทนกันได้ในกรณีที่ Physical Server เครื่องใดเครื่องนึงเสียไป ตรงนี้เป็นจุดสำคัญที่แตกต่างจาก Cloud VPS
- Enterprise Cloud จะมีหน้า Control Panel ให้คุณสามารถบริหารจัดการได้เอง เช่น เปิด/ปิด Server Cloud VPS บางเจ้าจะสามารถใช้งานได้ผ่านทาง Console หรือ Remote Desktop เท่านั้น
1.โครงสร้างและระบบ (Infrastructure) ที่ดีเป็นปัจจัยนึงในการเลือกใช้บริการจาก Cloud Provider
2.ความปลอดภัยในการใช้บริการ (Security) Cloud Provider ต้องมีการคุม Security ในทุก ๆ ส่วน
3.การสำรองข้อมูล (Backup) เป็นสิ่งที่ Cloud Provider เกือบทุกที่ต้องมีพื้นที่รองรับสำหรับการทำ Backup อยู่แล้ว แล้ว. อะไรเป็นตัวบ่งชี้ช่วยในเลือก Cloud Provider?
ความเร็วในการ Backup และกู้ข้อมูล
จำนวน Copy ของ Backup ที่ต้องการเก็บสำรองไว้ ก็ขึ้นอยู่กับลูกค้าว่าจะต้องการให้เก็บข้อมูลย้อนหลังไปได้ระยะเวลาเท่าไหร่
4.แผนในการรับมือ (BCP Plan) เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ทำให้ธุรกิจอาจต้องหยุดชะงัก เป็นตัวชี้วัดว่า Cloud Provider มีความสามารถในการให้บริการได้ต่อเนื่องในกรณีที่เกิดปัญหากระทบกับ Infrastructure เช่น
ภัยธรรมชาติ, เหตุการณ์ทางการเมือง Cloud Provider จะต้องสามารถระบุชนิดของความเสี่ยงได้ และมีระบบรองรับหากเกิดปัญหา
5.บริการช่วยดูแลลูกค้า (Support) ในกรณีที่เกิดปัญหาระหว่างใช้บริการ หรือตามที่ลูกค้าขอความช่วยเหลือ เป็นอีกจุดที่สำคัญอย่างมาก ลูกค้าควรนำมาพิจารณาว่าบริการหลังการขายเป็นอย่างไร
มีเจ้าหน้าที่คอยดูแล 24 ชั่วโมง ตลอด 7 วัน หรือไม่?ผ่านทางช่องทางไหน? โทรศัพท์, ช่องทาง Social Media ไม่ว่าจะเป็น Line, Facebook หรือ e-mail? ช่วยเหลือในด้านการ Migrate จากข้อมูลเดิมที่ลูกค้ามีอยู่ไปอยู่ที่ Cloud ได้หรือไม่?
6.เป็นข้อตกลง, เงื่อนไข หรือมาตรฐาน (SLA – Service Level Agreement) ที่ Cloud Provider ให้สัญญากับลูกค้าว่าระบบจะพร้อมใช้ได้ตลอดการให้บริการ โดยส่วนใหญ่จะบอกเป็น % เช่น 99.9 เช่น SLA 99.9 หมายถึง Uptime (ระยะเวลาที่ Service ให้บริการได้เป็นปกติ) 99.9% ของ 1 ปี แปลว่ามีโอกาสที่จะใช้บริการไม่ได้มากที่สุดเป็นระยะเวลา 8 ชั่วโมง นิด ๆ ต่อปี ซึ่งถ้าใช้ไม่ได้นานกว่านั้น สามารถแจ้งขอค่าปรับได้ เนื่องจากผิดเงื่อนไข โดยลูกค้าสามารถประเมินระดับ SLA ที่ต้องการเพื่อที่จะเลือกใช้งานกับ Cloud Provider ที่ตอบโจทย์
7.ความร่วมมือ (Compliance) จากทั้งหมดที่กล่าวมา หลาย ๆ ข้อ Cloud Provider อาจจะมีหรือไม่มีก็ได้ ลูกค้าไม่มีทางรู้ได้ว่า Cloud Provider ให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ลูกค้าหรือไม่ สิ่งที่ช่วยยืนยันได้ก็คือ เรื่อง Certificate ที่มีหน่วยงานรับรองแล้วว่าผ่านมาตรฐานตามที่กำหนด
8.ราคา (Cost) มาดูกันที่เรื่องสุดท้าย นั่นก็คือ ราคานั่นเองครับ ทำไมถึงอยากให้พิจารณาเรื่องราคาเป็นสิ่งสุดท้าย ก็เพราะว่าอยากให้มองจุดประสงค์ที่จะใช้งานบริการ Cloud ก่อนครับ ว่าต้องการจะนำไปใช้อะไร Cloud Provider ที่เลือก มี Function ตอบโจทย์หรือไม่ ถ้ามีก็สามารถที่จะไปต่อได้
และนี่ก็คือข้อแต่ต่างของ Cloud ในแต่ละที่
หากใครกำลังมองหา Cloud ที่ได้มาตราฐานมีประสิทธิภาพบริการแบบ 24×7 เราขอแนะนำ
บริการ Cloud จาก ReadyIDC
“READY IDC”
ยินดีเป็นผู้ช่วยคนใหม่…ให้คุณ
สนใจติดต่อหรือสอบถามรายละเอียดการให้บริการเพิ่มเติมได้ทาง
Email: [email protected] หรือ www.readyidc.com