Blockchain คืออะไร?
Blockchain คำที่หลายๆคนอาจเคยได้ยินจนคุ้นหู แต่ไม่เคยไปค้นหาข้อมูลอย่างจริงจังกันสักเท่าไหร่ เพราะถูกมองว่าเป็นเทคโนโลยีที่ดูแล้วเข้าใจยาก แต่จริงๆแล้วเจ้าสิ่งนี้มี Concept ที่ค่อนข้างจะเรียบร้อยเป็นระบบ และเป็นเหมือนกับ Database ชนิดหนึ่งเท่านั้นเอง
ก่อนที่จะไปรู้จักกับ Blockchain เรามาทำความรู้จักกับ Database กันก่อน เพื่อเป็นจุดสานต่อในความเข้าใจเรื่อง Blockchain ต่อไป Database แปลเป็นไทยตรงๆคือคำว่า ฐานข้อมูล เป็นที่ที่ใช้เก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆในระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของโครงสร้างที่ง่ายต่อการค้นหา และนำออกมาใช้ในภายหลัง โดยจะแตกต่างกับ Spreadsheet เช่น Google Sheet
เพราะ Spreadsheet ถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้งานสำหรับคน 1 คน หรือจำกัดจำนวนการเข้าถึงเฉพาะในกลุ่มบุคคลหนึ่งเท่านั้น แต่ Database นั้นไม่ใช่ Database ถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับข้อมูลจำนวนมหาศาล สามารถกรองข้อมูล หรือบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมาก และเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้โดยจากผู้ใช้งานหลายๆคนพร้อมกัน
เมื่อรู้จัก Database แล้ว คำถามต่อไปคือ Database แตกต่างจาก Blockchain อย่างไร ?
ถ้าให้พูดง่ายๆเลยคือ แตกต่างกันตรงโครงสร้างในการจัดเก็บข้อมูล เพราะ Blockchain จะเก็บข้อมูลเอาไว้ด้วยกันเป็นแบบกลุ่ม ที่เราเรียกกันว่า Block โดยจะมัดรวมข้อมูลเอาไว้เป็นชุด ๆ และมีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลในตัวของมันเอง โดยสามารถอธิบายลักษณะการทำงานแบบคร่าวๆ ได้คือ เมื่อมีการใส่ข้อมูลลงไปใน Block ก็จะเกิดการนำ Block ไปเชื่อมต่อกับอีก Block หนึ่ง จนมีลักษณะคล้ายกับโซ่ที่เชื่อมต่อข้อมูลกัน จนกลายเป็น Blockchain นั่นเอง โดยหากมีข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มเข้ามาเจ้า Block ก็จะทำการสร้าง Chain เพิ่มเพื่อเชื่อมต่อกับ Block ก่อนหน้าแค่นั้นเอง
แต่สำหรับโครงสร้างของ Database ข้อมูลจะถูกจัดเก็บในรูปแบบของตาราง แตกต่างจาก Blockchain ที่เก็บข้อมูลในรูปของ Block มาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน เพราะอย่างนั้นจึงมีคำนิยามเกิดขึ้นมาว่า Blockchain ทุกชนิดคือ Database (ฐานข้อมูล) แต่ไม่ใช่ว่า Database ทุกอันจะเป็น Blockchain เป็น Blockchain ระบบที่โปร่งใส เพราะว่าทุกๆ ธุรกรรมจะถูกจัดเก็บโดยไม่สามารถแก้ไขได้ และสามารถตรวจสอบได้เนื่องจาก เมื่อมีการใส่ข้อมูลลงไปใน Block แล้ว Block อื่น ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ใน Chain ก็จะลงบันทึกเวลาไว้นั่นเอง
หลักการของ Decentralization คืออะไร?
DeFi หรือ Decentralized Finance เป็นคำเรียกระบบการให้บริการทางการเงินรูปแบบใหม่ โดยใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain) มาช่วยในเรื่องการทำงานต่างๆ ในด้านการเงิน โดยเฉพาะการส่งผ่านมูลค่าได้บนระบบอินเตอร์เน็ต ใช้ความสามารถของสัญญาอัจฉริยะ (Smart Contract) ที่สามารถกำหนดกฎเกณฑ์ไว้ได้ล่วงหน้า มีการทำงานบนบล็อกเชนแบบสาธารณะ (Public Blockchain) ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ และไม่จำเป็นต้องมีคนกลางหรือพนักงานมาจัดการ จึงทำให้ลูกค้าสามารถควบคุมเงินตัวเองได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่มีคนกลางมาคอยตรวจสอบหรือตัดสิน ทุกการตัดสินใจขึ้นอยู่กับลูกค้าและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ล่วงหน้าแล้ว
ยกตัวอย่างได้จาก ระบบการทำงานของ Bitcoin ที่ใช้คอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องในการเก็บ Blockchain ของตัวมัน ซึ่ง Blockchain ตัวนี้จะเป็น Database เฉพาะที่ใช้สำหรับเก็บ Transaction ที่ Bitcoin เป็นผู้ที่ทำธุรกรรมเท่านั้น โดยที่คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องไม่จำเป็นจำต้องอยู่ในสถานที่ที่ใกล้เคียงกัน อาจจะอยู่ต่างกันภูมิภาคกันก็ได้ โดยเราจะเรียกคอมพิวเตอร์ที่ทำให้เกิดโครงข่ายของ Bitcoin ขึ้นมาว่า Node โดยแต่ละ Node จะมีจำนวน Record ที่เก็บไว้ใน Blockchain ตั้งแต่เริ่มการทำงาน ซึ่งหาก Node ใด Node หนึ่งเกิด Error ขึ้นมาก็จะสามารถนำข้อมูลจาก Node อื่นๆมากมาย มาแก้ไขข้อมูลของตัวเองให้ถูกต้องได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยืนยันได้เลยว่า การแก้ไขข้อมูลไม่สามารถทำได้จาก Node เพียงไม่กี่ Node และไม่เกิดผลกระทบกับ Transaction Record โดยรวมของทั้งระบบ ดังนั้นการบิดเบือน หรือแก้ไขข้อมูลจึงเป็นเรื่องที่ยากมากๆ นอกจากนั้นแล้วระบบนี้ยังมีความปลอดภัยมากต่อการถูกแฮ็คข้อมูล เนื่องจากการเจาะระบบเข้าไป จะต้องทำให้ทุก Node มีข้อมูลชุดเดียวกันให้ได้ ซึ่งทำได้ยากมากๆ จึงทำให้ระบบนี้มีความโปร่งใสในทุก ๆ ธุรกรรมที่เกิดขึ้น
โดยสรุปแล้ว Decentralization นั่นก็คือ ระบบกระจายศูนย์ที่ปลอดภัยโดยไม่เก็บข้อมูลไว้ที่เดียว ปลอดภัยจากการแก้ไขข้อมูล หรือระบบมีปัญหา และที่สำคัญคือไม่มีคนใดคนหนึ่งเป็นเจ้าของเหรือมีอำนาจเบ็ดเสร็จเพียงคนเดียว โดยทุกคนที่ทำธุรกรรมจะได้รับข้อมูลชุดเดียวกัน ทำให้ผู้ไม่ประสงค์ดีสามารถโจมตีได้ยากเพราะจะต้องบิดเบือนข้อมูลธุรกรรมนั้นให้มากกว่า 51% ของข้อมูลที่มี
แล้ว Blockchain สามารถเอาไปใช้กับอะไรได้บ้าง?
อันดับแรกเลยคือ ควรนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมด้านธนาคารและการเงิน เพราะสามารถลดเวลาการทำธุรกรรมของผู้ใช้บริการให้สั้นลง เนื่องจากธนาคารสามารถแลกเปลี่ยนธุรกรรมระหว่างสถาบันการเงินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ลูกค้าไม่ต้องเอาเงินไปจมระหว่างทางที่รอธุรกรรมดำเนินการเสร็จ
อันดับที่สองคือ ธุรกิจด้านสกุลเงิน เพราะ เทคโนโลยี Blockchain เกิดขึ้นมาจากการพัฒนา Bitcoin ทำให้ Bitcoin และเหรียญ Crypto อื่น ๆ ไม่จำเป็นต้องใช้ศูนย์กลางในการควบคุมธุรกรรมซึ่งไม่ได้แค่ช่วยความเสี่ยงในการธุรกรรม แต่ยังช่วยลดกระบวนการรวมไปถึงค่าธรรมเนียมที่ต้องเสียในระหว่างทำธุรกรรมด้วย จึงเหมาะมากๆกับประเทศที่มีค่าเงินที่ไม่เสถียรให้สามารถใช้สกุลเงินดิจิตอลในการทำธุรกรรมได้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
อันดับที่สาม คือประยุกต์ใช้ด้านสาธารณสุข โดยใช้ Blockchain มาช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการเก็บข้อมูลทางการแพทย์ของผู้ป่วย
นอกเหนือจาก 3 หัวข้อข้างต้น Blockchain ยังสามารถนำไปปรับใช้กับอย่างอื่นได้อีก เช่น ด้านการลงบันทึกทรัพย์สิน โดยการนำเอา Blockchain มาช่วยตัดปัญหาเรื่องการ Scan เอกสาร หรือการหาเอกสารที่อยู่ในตู้เก็บของในสำนักงานที่ต้องใช้เวลานาน หรือแม้กระทั่งปรับใช้กับการลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง โดยใช้ Blockchain ในการโหวตทำให้ได้ผลคะแนนการโหวตจริงตามจำนวนประชากร และไม่สามารถปลอมแปลงได้
สรุปข้อดีข้อเสียโดยรวมของ เทคโนโลยี Blockchain ฉบับรวบรัด
ข้อดีของเทคโนโลยี Blockchain | ข้อเสียของเทคโนโลยี Blockchain |
การปรับใช้ Decentralization ช่วยให้ปลอดภัยต่อการดัดแปลงและแก้ไขข้อมูล | เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ต้นทุน |
ช่วยให้การทำธุรกรรมมีความปลอดภัย เป็นส่วนตัว และมีประสิทธิภาพ | ยังคงมีช่องโหว่ในการทำธุรกรรมผิดกฎหมาย เช่น เว็บมืด หรือการฟอกเงิน |
เป็นระบบที่โปร่งใส และตรวจสอบได้ | ไม่มีระเบียบข้อบังคับในการใช้งาน |
ลดค่าใช้จ่ายในการดูแล เพราะไม่ต้องตรวจสอบซ้ำซ้อนจากบุคคลภายนอก | |
ช่วยพัฒนาความแม่นยำ และลดขั้นตอนที่ต้องใช้คนมาตรวจสอบ
ทำให้เกิดความรวดเร็วมากขึ้น |
“READY IDC”
ยินดีเป็นผู้ช่วยคนใหม่…ให้คุณ
สนใจติดต่อหรือสอบถามรายละเอียดการให้บริการเพิ่มเติมได้ทาง
Email: [email protected] หรือ www.readyidc.com