มาตรฐาน Tier | ของ Data Center ที่ต้องรู้
Data Center คือ สถานที่ที่ใช้ในการวาง Server, อุปกรณ์สื่อสารจำพวก Network, ระบบ Storage เป็นต้น
โดยระบบของ Data Center ต้องมีระบบจ่ายไฟที่เพียงพอต่อการรองรับของ Server หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มาติดตั้งที่ Data Center ต้องมีเรื่องของอุณหภูมิที่เหมาะสม การระบายความร้อนต่าง ๆ เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ, ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและสังเกตการณ์หากเกิดปัญหากับระบบใน Data Center และต้องมีการป้องกันความเสี่ยงต่ออุปกรณ์ เช่น มีระบบดับเพลิง มีอุปกรณ์สำหรับงัดแงะในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น ทีนี้ก็จะมีข้อสงสัยกันใช่ไหมครับว่าเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า Data Center ที่เราจะนำอุปกรณ์ไปวางหรือสร้างใช้งานเองในบริษัทจะไว้ใจได้อย่างไร มีความปลอดภัยมากเพียงใด Uptime มีกี่ %
Data Center คือ สถานที่ที่ใช้ในการวาง Server, อุปกรณ์สื่อสารจำพวก Network, ระบบ Storage เป็นต้น
โดยระบบของ Data Center ต้องมีระบบจ่ายไฟที่เพียงพอต่อการรองรับของ Server หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มาติดตั้งที่ Data Center ต้องมีเรื่องของอุณหภูมิที่เหมาะสม การระบายความร้อนต่าง ๆ เพื่อให้อุปกรณ์ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ, ต้องมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและสังเกตการณ์หากเกิดปัญหากับระบบใน Data Center และต้องมีการป้องกันความเสี่ยงต่ออุปกรณ์ เช่น มีระบบดับเพลิง มีอุปกรณ์สำหรับงัดแงะในกรณีฉุกเฉิน เป็นต้น ทีนี้ก็จะมีข้อสงสัยกันใช่ไหมครับว่าเราจะมั่นใจได้อย่างไรว่า Data Center ที่เราจะนำอุปกรณ์ไปวางหรือสร้างใช้งานเองในบริษัทจะไว้ใจได้อย่างไร มีความปลอดภัยมากเพียงใด Uptime มีกี่ %
ขออนุญาตขยายความคำว่า “Uptime” เพิ่มเติมเล็กน้อยเผื่อบางท่านอาจจะยังไม่เข้าใจนะครับ
Uptime เป็น % ที่บ่งบอกถึงการทำงานที่เป็นปกติของ Data Center เทียบต่อ 1 ปี Uptime 100% หมายถึงระบบใน Data Center ไม่มีปัญหาในการให้บริการในทุก ๆ ด้าน ไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้าหรือระบบระบายอากาศ เป็นต้น ซึ่งในโลกแห่งความเป็นจริง ไม่มีที่ใดสามารถการันตี
Uptime เป็น 100% ได้ มาตรฐานส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 99.XXX% โดย 0.XXX% ที่เหลือ คือ ระยะเวลามากที่สุดที่อุปกรณ์จะเกิด Downtime ต่อปี
ระบบการแบ่ง Tier ของสถาบัน Uptime Institute สำหรับ Data Center นั้นถูกนำมาใช้งานเกือบ 20 ปี นับตั้งแต่มีการสร้างระบบนี้ขึ้นมาในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 ซึ่งได้พัฒนาขึ้นจากคำศัพท์ที่ใช้ร่วมกันในวงการไปสู่มาตรฐานระดับโลกที่บริษัทภายนอกใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของ Data Center ของบริษัทต่างๆ
Tier คืออะไร?
สถาบัน Uptime Institute ได้สร้างระบบแบ่ง Tier ระดับมาตรฐานเพื่อประเมิน Data Center ต่างๆ อย่างสม่ำเสมอในแง่ประสิทธิภาพของโครงสร้างพื้นฐาน หรือระยะเวลาในการทำงานของระบบ ต่อไปนี้คือบทสรุป
สถาบัน Uptime Institute ได้สร้างระบบแบ่ง Tier สำหรับ Data Center โดยแบ่งออกเป็น 4 Tier
Tier 1 : ขีดความสามารถขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วยพื้นที่เฉพาะสำหรับระบบไอทีที่นอกเหนือจากส่วนสำนักงาน แหล่งจ่ายไฟสำรอง (ยูพีเอส) เพื่อกรองกระแสไฟเกิน ไฟตก และไฟดับชั่วขณะ อุปกรณ์ทำความเย็นที่ไม่ปิดหลังเวลาเลิกงานตามปกติ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำหรับป้องกันระบบไอทีจากปัญหาไฟดับเป็นเวลานาน
- Uptime 99.671%
- Maximum downtime 1729 นาที หรือ 28 ชั่วโมง 48 นาที/ปี
Tier 2 : มีอุปกรณ์ชุดสำรองในระบบที่สำคัญ ประกอบด้วยระบบจ่ายไฟ และระบบทำความเย็นสำรองที่ช่วยให้วางแผนด้านการซ่อมบำรุงได้ และเพิ่มความปลอดภัยจากการหยุดชะงักของกระบวนการทางด้านไอทีซึ่งมีผลมาจากอุปกรณ์ในโครงสร้างพื้นฐานของไซต์หยุดทำงาน อุปกรณ์ชุดสำรอง ได้แก่ อุปกรณ์ไฟฟ้า อุปกรณ์ทำความเย็นต่างๆ เครื่องสูบน้ำ และเครื่องกำเนิดไฟฟ้า
- Uptime 99.741%
- Maximum downtime 1361.3 นาที หรือ 22 ชั่วโมง 41 นาที 18 วินาที/ปี
Tier 3 : Data Center ระดับTier 3 ยังคงสามารถทำงานอยู่ได้ในขณะที่มีการซ่อมบำรุงหรือเปลี่ยนแปลงอุปกรณ์ในส่วนที่ต้องการ มีระบบจ่ายไฟฟ้าสำรอง และระบบทำความเย็นเพิ่มขึ้นมาจากส่วนประกอบสำคัญสำรองของ Tier 2
- Uptime 99.982%
- Maximum downtime 94.6 นาที หรือ 1 ชั่วโมง 34 นาที 36 วินาที/ปี
Tier 4 : Data Center ที่ยังคงสามารถทำงานอยู่ได้เมื่อเกิดปัญหาหรือข้อผิดพลาด โดยโครงสร้างพื้นฐานของระบบTier 4 จะถูกสร้างไว้บน Tier 3 และมีการเพิ่มแนวคิดเรื่องความทนทานต่อการล้มเหลวของระบบ คือหากมีอุปกรณ์หรือระบบจ่ายกระแสไฟฟ้าเกิดปัญหาก็ยังสามารถดำเนินงานได้ต่ออย่างต่อเนื่อง
- Uptime 99.995%
- Maximum downtime 26.3 นาที หรือ 26 นาที 18 วินาที/ปี
หากกำลังมองหา Data Center ที่ได้มาตรฐาน มีบริการดูแลแบบ 24×7
“READY IDC”
ยินดีเป็นผู้ช่วยคนใหม่…ให้คุณ
สนใจติดต่อหรือสอบถามรายละเอียดการให้บริการเพิ่มเติมได้ทาง
Email: [email protected] หรือ www.readyidc.com